วัดแสงแก้วโพธิญาณ
สถานที่ศูนย์กลางสร้างสาธารณะประโยชน์
ในการสร้างความดีให้กับโลกใบนี้ ทั้งยังมีหลักฐานในการตรวจสอบได้ชัดเจนทุกประการ
สถานที่ศูนย์กลางสร้างสาธารณะประโยชน์
ในการสร้างความดีให้กับโลกใบนี้ ทั้งยังมีหลักฐานในการตรวจสอบได้ชัดเจนทุกประการ
ครูบาถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2524 ที่บ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของ โยมพ่อสุข โยมแม่จำนง อุ่นต๊ะ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 3 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด
Aenean vulputate eleifend tellus. Aenean leo ligula, porttitor eu, consequat vitae, eleifend ac enim. Aliquam lorem ante dapibus in vfeugiat a, tellus. Phasellus viverra nulla ut metus varius laoreet consequat vitae. Aenean imperdiet.
Aenean vulputate eleifend tellus. Aenean leo ligula, porttitor eu, consequat vitae, eleifend ac enim. Aliquam lorem ante dapibus in vfeugiat a, tellus. Phasellus viverra nulla ut metus varius laoreet consequat vitae. Aenean imperdiet.
Aenean vulputate eleifend tellus. Aenean leo ligula, porttitor eu, consequat vitae, eleifend ac enim. Aliquam lorem ante dapibus in vfeugiat a, tellus. Phasellus viverra nulla ut metus varius laoreet consequat vitae. Aenean imperdiet.
ชีวิตในวัยเด็กครูบาเริ่มการศึกษาที่ โรงเรียนวัดชัยชนะ ต.ประตูป่า อ. เมือง จ. ลำพูน จนจบชั้นประถมศึกษา จึงได้มาเรียนต่อโรงเรียนมัธยมที่ โรงเรียนสารภีวิทยาคม ซึ่งช่วงที่เรียนอยู่ชั้น ป.6 นั้น ครูบามีความคิดอยากจะบวช ขอกับโยมแม่ว่าถ้าจบ ป.6 แล้วบวช โยมแม่บอกว่าเอาไว้ให้จบ ม.3 ก่อนแล้วค่อยบวช พอจบ ม.3 ก็คิดว่าจะได้บวชแล้ว แต่ก็ไม่ได้บวช โยมแม่บอกว่าเอาไว้ ม.6 ค่อยบวช เลยคิดว่ายังไงๆ ก็คงไม่ได้บวชแล้ว แต่พอครูบาเรียนถึงชั้น ม.4 รู้สึกมันวุ่นวาย อะไรๆ ก็วุ่นวาย ช่วงนั้นรู้สึกอยากจะบวชมากจริงๆ รู้ว่าต้องได้บวช ขอโยมแม่ๆ ก็ไม่ให้บวช เพราะครูบาเป็นความหวังของโยมแม่ เนื่องจากพี่ชายคนแรกพิการ เกิดมาได้เดือนหนึ่งก็เป็นไข้เลือดออกพาไปหาหมอ หมอก็ฉีดยาให้ร่างกายนั้นปกติดีแต่พิการ พี่ชายคนที่สองแต่งงานแล้วก็ไปอยู่ลำปาง ครูบาเป็นลูกคนสุดท้องอยู่กับโยมแม่ สมัยนั้นครูบาขอบวชโยมแม่ก็ไม่ให้บวช ท่านบอกว่า “คนขาดีมาอยู่กับกูไม่ได้พึ่งคงจะได้พึ่งคนขาไม่ดี เพราะคนขาดีมันไปกันหมดแล้ว” ซึ่งคนขาไม่ดีที่ว่าจะได้พึ่งนั้นมีอยู่คนเดียวคือโยมพี่ ทุกวันนี้เป็นจริงแล้วนะโยมแม่ก็ได้พึ่งเขาจริงๆ
อีกสมัยหนึ่งเรื่องที่เจอบางครั้งเป็นสิ่งที่เราหลอกตัวเอง ต้องพิจารณาว่าเป็นจริงหรือหลอก ช่วงที่ครูบาเดินธุดงค์ไปนาน้อย เดินไปถ้ำบัวตอง พอถึงปุ๊บก็เป็นเวลาเย็นแล้ว เป็นถ้ำใหญ่แล้วก็เล็ก เล็กแล้วก็ใหญ่ มีอยู่ 3 ช่วง ลอดเข้าไป 3 ครั้ง ตอนนั้นสนใจเรื่องเหล็กไหล ไปถึงก็มีศาลาเล็กๆ อยู่หลังหนึ่ง มีพระรูปหนึ่ง พระรูปนี้เขาบอกว่าเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อดาบส แต่ท่านเป็นโรคสะเก็ดเงิน ตอนที่ไปถึงนั้นก็ค่ำแล้วจะกลับก็ไม่ทัน ก็เลยขอพักกับท่าน วันนั้นท่านเอาน้ำมันมาทาตัว แล้วก็เอามีดขูดผิว แดงทั้งตัวเลย ครูบาก็ไปนั่งคุยกับท่านๆ ก็ถามว่ามาจากไหน มีของดีอะไรบ้าง อะไรที่เป็นของดีท่านขอไปหมดเลย มีเท่าไหร่ขอหมด เสร็จแล้วท่านก็ขูดผิวอีก ขูดได้สักพักก็ลุกจากตรงนั้น ไปชงโอวันตินมาให้ครูบา มือก็ไม่ล้างนะ ชงเสร็จท่านก็เอามาให้ ครูบาถือแก้วน้ำอยู่ ท่านก็ยื่นให้ แล้วบอกว่า “เอ้า ! กินซะ”
ครูบาก็บอกท่านว่าไม่เป็นไร ครูบาก็ถือไว้ ท่านก็ดันมือบอกให้กินซะๆ ใจหนึ่งก็คิดว่าท่านจะเอาอะไรใส่ลงไปหรือเปล่า เราไม่กินก็บังคับให้กิน พอท่านก้มหน้าลงครูบาก็เลยแอบเททิ้งครึ่งหนึ่ง คืนนั้นครูบาก็พักที่ศาลา หลวงพ่อก็พักที่กุฏิ ท่านอยู่องค์เดียว เปิดวิทยุไว้ทั้งคืน เพราะอยู่ไกลบ้านคนด้วย พอ 1 ทุ่ม ท่านก็เดิมมาถามว่า “เณรหลับหรือยัง” “ยังไม่หลับครับหลวงพ่อ”
2 ทุ่มมาอีก “เณรหลับยัง”
3 ทุ่มมาอีกแล้ว “เณรหลับยัง”
มาทีไรครูบาก็ตอบว่ายังไม่หลับๆ ทำให้นึกถึงนิทานทางเหนือเรื่องเสือสมิงตอนที่ถามว่าหลับหรือยังๆ ถ้าหลับแล้วจะมากิน โอ้โห! ตอนนั้นเณรก็คิดแบบนั้นนะ ลุกขึ้นมาเสกคาถาวัวธนู เอาก้อนหินมาทำเป็นธนูไว้ 4 ทิศเสกคาถาแล้วก็นอน ช่วงเที่ยงคืนตี 1 ลมพัดเพราะอยู่ในเขา มีเสียงดังบึ้มตุ๊บบนหลังคาเสกคาถาทุกด้านแต่ลืมด้านบน สงสัยจะมาข้างบนก็นอนไม่หลับ เหงื่อแตกพลั่กๆ ผ้าเปียกหมดเลย ผ้าหนักประมาณ 3-4 กิโล ตี 2 เอาอีกแล้ว ได้หลับตอน 6 โมงเช้า พอสัก 7 โมงหลวงพ่อมาเรียก “เณรๆ ตื่น จะออกไปข้างนอกจะไปไหม”
ครูบาก็ออกมา เห็นมีต้นมะม่วงที่อยู่บนเขา กิ่งมันเลยออกมาอยู่ที่เราพัก แล้วศาลาที่เราพักนั้นหลังคาก็เป็นสังกะสี มะม่วงหล่นมาตกใส่หลังคาสังกะสีตอนเที่ยงคืนตี 1 แล้วอีกข้างเป็นหน้าผา หน้าถ้ำมันสะท้อน โอ้โห! นี่เราหลอกตัวเองหรือนี่ จนรู้ว่าอันไหนจริงอันไหนหลอก บางครั้งก็มีจริงบ้างมีหลอกบ้าง เจอหลายอย่าง ก็เป็นการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง
ซึ่งจังหวัดน่านนี่เองครูบาได้มาเจอบุคคลสำคัญอยู่ 2 ท่านคือ แม่หลวงแก้ว และ แม่หลวงตอง ผู้ซึ่งในอดีตเคยเป็นคนใกล้ชิดกับเจ้าเมืองน่าน ซึ่งแม่หลวงทั้ง 2 คนนี้ในอดีตเคยมาช่วยครูบาศรีวิชัย สร้างทางขึ้นดอยสุเทพในปี พ.ศ. 2477 เมื่อแม่หลวงทั้ง 2 มาเจอครูบา ท่านก็ได้ทักขึ้นว่า “เณรเป็นผู้มีบุญนะ ท่านมีลักษณะคล้ายกับครูบาศรีวิชัย ต่อไปขอให้รักษาตัวไว้ให้ดี เพราะจะเจริญรุ่งเรืองในทางศาสนา”
และแม่หลวงทั้ง 2 นี้เองที่ได้เรียกครูบาว่า ครูบาน้อย เป็นคนแรก จนต่อมาชาวบ้านต่างก็เรียกว่า ครูบาตามแบบอย่างของแม่หลวงทั้ง 2 พอมาอยู่ลำพูนเขาก็เรียกหลวงพ่อเณรบ้าง ครูบาน้อยบ้าง คือตอนนั้นยังเป็นเณรอยู่ อายุประมาณ 17-18 ปี
แล้วก็มีครูบาบุญสม สิริวิชโย เป็นลูกศิษย์ของครูบาชุ่ม โพธิโก และยังมีครูบาอินตา วัดห้วยไซ สมัยก่อนตอนเป็นเณรจะชอบคาถาอาคม อะไรที่เป็นคาถาอาคมครูบาจะชอบมาก ไปเรียนกับครูบาวัดห้วยไซ เรียนยันต์ตะกรุด เรียนยันต์เก้ากลุ่ม เรียนใส่ตะกรุดเข้าตา สาริกาเข้าตา สมัยหนึ่งเคยไปใส่ที่กรุงเทพฯ เป็นตะกรุดที่ใส่เข้าไปแล้วจะไม่เคืองไม่อะไร แต่ถ้าเกิน 7 วันไปจะไม่อยู่แล้ว จะเข้าไปในตาแล้วจะหายไปเอง มีทองคำดอกหนึ่ง ข้างหนึ่งเงิน ข้างหนึ่งทอง เขาเรียกสาริกาเข้าตา ใส่ให้คนเมตตา ขอความช่วยเหลือ ติดต่อเจรจาเป็นวิชาของครูบาอินตา แล้วก็ ครูบาชัยวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม ซึ่งส่วนมากจะเป็นแนวกรรมฐาน
ช่วงเป็นเณรครูบาชอบคาถาอาคม แต่พอบวชเป็นพระก็เริมศึกษากรรมฐาน นำคำสอนของ อาจารย์ปื๊ดมาพิจารณาบ้าง แล้วก็ถามหาครูบาอินตา วัดวังทองบ้าง ทุกวันนี้ท่านก็ยังมีชีวิตอยู่ อายุ100 กว่าปีแต่ท่านยังแข็งแรง แล้วก็หลวงพ่อทอง ซึ่งครูบายังไม่เคยได้เจอท่านอาจจะเจอกันในฌาน ท่านชอบให้ลูกศิษย์มาขอกาสะท้อนกับครูบา พอได้ไปแล้วท่านก็ไปผูกไว้ที่หัวเตียง ท่านบอกว่ากันของกันอะไรได้ ก็ได้เจอกันเพราะกาสะท้อน จนกระทั่งเจอตัวจริงตอนไปที่โรงพยาบาล
แล้วอย่าง ครูบาเทือง นาถสีโล เหมือนกับเราได้ไปสนทนาเรียนกรรมฐานกับท่าน เวลาติดขัดอะไรครูบาก็จะไปถาม เจอองค์นั้นบ้างองค์นี้บ้าง เคยไปเรียนโหราศาสตร์แต่ไม่ได้ใช้ก็ลืมไปหมดแล้ว และยังมีอีกหลายองค์ ส่วนมากจะนับถือมากกว่า เวลาติดขัดสงสัยอะไรก็จะซักถามท่าน อย่างท่านเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร ครูบาสนิทและนับถือท่าน เวลามีการมีงานก็นิมนต์ท่านมาช่วยตลอด แล้วก็ ครูบาจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง อ. หางดง องค์นี้นิ่งมาก เหมือนพระอรหันต์เลย นิ่งสนิท ยอมรับเลยว่าสุดยอด ท่านอายุ 90 กว่าปีแล้ว จะเหมือนกับครูบาอินตา แต่เรื่องความเย็นนี้ ครูบาจันทร์แก้วจะเย็นกว่าเพราะครูบาอินตาจะออกทางฤทธิ์มากกว่า และ ครูบาดวงดี ท่านเป็นลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย เหมือนกับสืบสายมา เจอกันคืนเดียวให้ธรรมะให้ความรู้ ก็ถือว่าเป็นศิษย์ได้ อย่าง ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล และก็ ครูบาน้อย ไปอยู่กับครูบาศรีวิชัยแค่ 2 เดือน ก็เป็นลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ไปช่วยท่านสร้างทาง แล้วก็ไปเรียนกับครูบาชุ่ม เพราะตำราของครูบากับตำราที่ออกจากวัดศรีดอยมูลนี้เป็นตำราเดียวกัน ยันต์บางอย่างก็อันเดียวกันเลย
ซึ่งครูบาชุ่มท่านเป็นพระเมตามาก ท่านจะยกพระทุกรูปเลย องค์นี้ดีนะ ปฏิบัติดี เหมือนกับส่งเสริม อย่าง หลวงพ่อชิด วัดพระธาตุจอมกิตติ ท่านบอกลูกศิษย์ว่า ครูบาชุ่มนี้เป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบารมีมาเยอะแล้ว ลูกศิษย์ก็มากันหลายคนเลย เราก็ไม่รู้ แต่ลูกศิษย์เอามาเล่าให้ฟัง กับหลวงพ่อชิดเคยเจอกันครั้งเดียวท่านอยากเห็นก็เลยมาเจอที่วัด ได้ยินแต่ชื่อนานแล้ว อยากเจอ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ก็ได้มาเจอกันที่วัดนี้ ท่านก็บบอกว่าอยากเจอมานานแล้ว
การเข้านิโรธกรรม
ครูบาได้ปฏิบัติตามแบบโบราณจารย์ในสายครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาในสมัย ครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดวังมุยยังมีชีวิตอยู่นั้น สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ครูบาชุ่ม จะปฏิบัติคือ การเข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งได้กระทำตามแบบอย่างของนักบุญแห่งล้านนา ครูบาศรีวิชัย ซึ่งในเวลาต่อมาครูบาได้พบ ตำราปั๊บสา ซึ่งเป็นบันทึกการเข้านิโรธกรรมของครูบาชุ่มที่คัดลอกมาจากครูบาศรีวิชัย อันมีใจความสำคัญในบันทึกการปฏิบัติ โดยเน้น ธุดงควัตร 13 และการเข้านิโรธกรรมที่ไม่เหมือนผู้ใด คือเป็นการทำแบบลำบาก ซึ่งครูบาได้ตั้งสัจจะอธิษฐานเอาไว้ว่า ในชาตินี้จะขอกระทำนิโรธกรรมเพียง 9 ครั้งซึ่งนับถึงปัจจุบันครูบาได้กระทำนิโรธกรรมมาแล้ว 8 ครั้ง และได้กระทำโดยไม่ซ้ำที่ และไม่กำหนดว่าจะทำติดต่อกันหรือไม่ บางครั้งอาจเว้นปีหรือติดต่อกันก็ได้ แต่ครูบาจะไม่ป่าวร้องบอกผู้ใด
ซึ่งการกระทำนิโรธกรรมตาบแบบฉบับของครูบาชุ่ม โพธิโกนี้ ท่านให้ขุดหลุมลึกศอก กว้าง 2 ศอก พอดีเข่า แล้วสร้างซุ้มฟางครอบ ให้มีความสูงแค่เลยหัว 1 ศอก โดยจะยืนไม่ได้ ไม่ฉัน ไม่ถ่ายหนักเบา ฉันแต่น้ำ โดยมีผ้าขาวปู 4 ผืนรองนั่ง แทนความหมายคือ อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มีเสาซุ้ม 8 ต้น แทนความหมาย มรรค 8 ยอดซุ้มปักธงฉับพรรณรังษี อันมีความหมายถึงปัญญา ราชวัตรล้อมซุ้มมี 9 ชั้น แทนความหมายของ โลกุตรธรรม 9 คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 รวมเป็น 9 ซึ่งการกระทำนิโรธกรรมของครูบา บางครั้งจะเข้าอยู่ 7 วัน หรือ 9 วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าตามสถานที่ห่างไกลคน สัปปายะ โดยมี ชาวบ้านจัดเวรยามรักษาในรัศมี 100 เมตร เพื่อป้องกันคนรบกวน ซึ่งก่อนที่จะทำการเข้านิโรธกรรมนั้น จะต้องมีพระสงฆ์จำนวน 5 รูป เป็นผู้รับรองความบริสุทธิ์ ซึ่งกระทำตามแบบครูบารุ่นเก่า เช่น ครูบาชุ่ม โพธิโก อีกประการหนึ่ง ครูบาต้องการความสงบเป็นการทำด้วยจิต มิใช่การแสวงหาลาภผลใดๆ
จนต่อมาบรรดาศิษยานุศิษย์ของครูบาจะต้องเฝ้ารอว่าเมื่อใดครูบาจะกระทำนิโรธกรรม เพราะในความเชื่อของชาวพุทธ เราจะเชื่อกันว่าในยามใดที่มีพระสงฆ์กระทำนิโรธกรรมนั้น จะมีผลบุญอันยิ่งใหญ่ หากอธิษฐานขอสิ่งใดก็จะประสบผลทุกประการ ดังนั้นในปีใดที่ครูบาได้เข้านิโรธกรรมเวลาออกจากนิโรธกรรมจะมีประชาชนจำนวนมากเรือนหมื่อนมารอรับและทำบุญกับครูบา
พระพุทธศาสนากับลัทธิต่าง ๆ
พระทางเหนือกับพระทางภาคกลางไม่เหมือนกันนะ ครูบาสงสัยแล้วก็เคยถามครูบาอาจารย์ว่าทำไมพระทางเหนือต้องนุ่งจีวรสีกรักแดง ห้อยประคำ ถือไม้เท้า
ท่านบอกว่าเป็นลัทธิดั้งเดิม เรียกว่า ลัทธิลังกาวงศ์ ผ้าสีนี้ที่เราเห็นเขาเรียกว่า ละกา ทิเบต ภูฏาน นุ่งสีนี้เหมือนกันเลย แต่ลายจีวรไม่เหมือนกัน สงฆ์ล้านนามีสองปราย ปรายแรกเรียกว่า ปรายสวนดอก ปรายที่สองเรียกว่า ปรายผาแดง ปรายสวนดอกสมัยนั้นศาสนาเข้ามาสู่ล้านนา สมัย พระเจ้าปีนา เข้ามาโดยพระสมณะเถระนำศาสนาจากสุโขทัยพร้อมกับพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับล้านนา เสร็จแล้วพระเจ้าปีนาได้ยกพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอธิษฐานว่า “ถ้าพระศาสนาจะได้ประดิษฐานในเมืองล้านนามั่นคงแล้ว ก็ขอให้พระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์ ”
ก็เกิดความมหัศจรรย์ใจแก่พระองค์ จากพระธาตุดวงหนึ่งแยกเป็น 2 ดวง พระเจ้าปีนาก็ปีติโสมนัสชมชื่นยินดี ก็เลยยกพระราชอุทยานสวนดอกไม้พยอมให้สร้างเป็นวัด ซึ่งก็คือ วัดบุปผารามสวนดอกไม้ ปัจจุบันคือ วัดสวนดอก เมืองเชียงใหม่ ที่มี พระเจ้าเก้าตื้อ เจดีย์วัดสวนดอกก็เลยเป็นเจดีย์แบบล้านนาผสมสุโขทัยแล้วพระธาตุอีกดวงหนึ่งที่แสดงปาฏิหาริย์แยกขึ้นมา ไม่รู้จะนำไปไว้ที่ไหน ก็เลยอธิษฐานเสี่ยงบนหลังช้าง เดิมธรรมชาติของช้างก็ขึ้นเขาและอยู่ในป่า ก็ไปหมดแรงอยู่ที่ดอยแห่งหนึ่ง อันเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวะฤาษี เลยสร้างพระธาตุขึ้นมา เป็น พระธาตุดอยสุเทพ เพราะเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวะฤาษี เลยได้เป็นพระธาตุพี่พระธาตุน้องกับวัดสวนดอก แล้วสงฆ์ยุคนั้นก็เลยเป็นสงฆ์ยุคสุโขทัย เป็นเถรวาส
ศาสนาในล้านนามีมาประมา 200-300 กว่าปีก่อน แต่พระสงฆ์ในศาสนาไม่ค่อยรู้บาลีกลัวว่าศาสนาจะเสื่อม ก็เลยส่งสมณทูตชุดหนึ่งจากบ้านเราไปศรีลังกา เพราะสมัยนั้นล้านนาเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมื่อประมาณ 200 กว่าปีก่อนพระที่ส่งไปชื่อว่า พระสุธรรมกิตติญาณคัมภีระเถระ เป็นลูกศิษย์ของ พระบุปผา สวามีของเมืองพม่า ตอนที่ส่งไปนั้นได้บวชเณรจากบ้านเรา พอไปถึงลังกาบวชพระ แล้วก็นำศาสนาจากลังกาเข้ามาสู่ล้านนา เลยกลายเป็นลัทธิลังกาวงศ์นุ่งรัดอก นุ่งผ้า 3 ผืน นี้คือที่ศรีลังกา
แต่ทุกว่านี้ที่ศรีลังกาจะมีทั้งสีกรัก แล้วก็เหมือนกันสีบ้านเรา ก็เพราะว่าในศรีลังกาเสื่อม แล้วก็นำจากสยามวงศ์เข้าไปศรีลังกา ก็เลยมีทั้งลังกาวงศ์และสยามวงศ์ แต่ล้านนามี 2 อัน คือ มีเถรวาสแบบสุโขทัย กับมีแบบลังกาวงศ์ อย่างครูบาศรีชัยก็สืบทอดมาจากลังกาวงศ์ ที่ถือไม้เท้าก็หมายถึง ผู้จาริก ผู้เดินทาง หลักปฏิบัติจะคล้ายกัน ซึ่งมันเหมือนธรรมยุติกับมหานิกาย แต่ลังกาวงศ์นี้ส่วนมากจะเป็นสายพระป่า
ความเชื่อในศาสนาล้านนา
ซึ่งถ้าดูความเชื่อของคนล้านนาแล้วก็จะเห็นว่า มีความเชื่อเหมือนทิเบต เหมือนภูฏานมีความเชื่อแบบนั้น ครูบาดูแล้วล้านนาจะออกกึ่งมหายาน คือเชื่อการกลับชาติมาเกิด การระลึกชาติได้ ความเป็นผู้มีบุญ เราดูอย่างพระที่มีอายุน้อยสมัยก่อน อย่าง ครูบาชุ่ม ครบาเทือง ครูบามนตรี ท่านดังมาก ๆ เลย เพราะคนล้านนาเชื่อว่าความเป็นผู้มีบุญ เกิดมาเป็นบุญ เป็นโพธิสัตว์ลงมาเกิด ลงมาโปรดคนให้พ้นทุกข์ในวัฏสงสารอย่างเห็นครูบาทางเหนือบางครั้งอายุยังน้อย แต่มีความสารมรถ มีบุญบารมีเยอะ เพราะเขาเชื่อแบบนั้น ครูบาดูแล้วเหมือนกันเลยคำว่า ครูบา ในล้านนานี้สมัยก่อนเป็นยศ จะมี สาติ สาตุ๊ สาตุ๊เจ้า ครูบาออกยาธรรม อย่างครูบานี้สมัยก่อนมีไว้เรียกพระที่มีพรรษาเกิน 50 พรรษาขึ้นไป ถ้าเป็นภาคกลางก็จะเรียกว่า มหาเถระ ก็เลยเป็นครูบาตอนเฒ่าตอนแก่ แต่เป็นสิ่งที่คนศัทธาแล้วเรียกกัน อย่าง ครูบาน้อย (หมายถึง ครูบาที่มีอายุน้อย) บางครั้งก็ศรัทธาด้วยบุญฤทธิ์ เกิดมาเป็นผู้มีบุญ ทำอะไรก็สำเร็จ อธิฐานอะไรก็สำเร็จ ใครมาขอพรอะไรก็สำเร็จ เกิดมามีบุญเรียกว่า บุญฤทธิ์
แล้วอีกอย่าง เป็นครูบาเพราะอิทธิฤทธิ์เวทมนต์คาถา อย่าง ครูบาจันต๊ะ ครูบาแอ ที่เก่งเรื่องคาถาอาคม เก่งเรื่องไสยศาสตร์ ทำเทียน ทำน้ำมนต์ ก็เป็นครูบาได้เหมือนกัน มีทั้งบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์ แล้วครูบาทางล้านนาส่วนมากเท่าที่ครูบาดูนะ ถ้าอายุน้อยๆ มีบารมีเยอะ จะสามารถ สร้างตรงนั้นตรงนี้ได้ อย่างครูบาชุ่ม ท่านสร้างวัดได้มากมายเป็นร้อยๆ วัด ครูบาเทืองก็สร้างได้มาก แล้วยังมีครูบาศรีวิชัย ครูบาขาวปี ครูบาชัยวงศา เป็นต้น ลองไปดูประวัติท่านสิ
ปัญหาและอุปสรรคคือยาชูกำลัง
แต่สำหรับตัวครูบานี้เหมือนนักบุญ ชีวิตจะผ่านแต่อุปสรรคอย่างเดียว มีแต่ปัญหา หรือเพราะว่าสร้างบารมีตั้งแต่อายุยังน้อย เวลาสร้างบารมีตอนอายุยังน้อยนี้อุปสรรคมันเยอะ แต่ถ้าอายุเยอะแล้วคนไม่ค่อยจะอะไรเท่าไหร่ บางครั้งก็เป็นความอิจฉา ทำอะไรแล้วไม่มีปัญหา ไม่มีในโลกหรอก บางครั้งนั่งอยู่เฉยๆ เขายังบอกว่าขี้เกียจ นอนไม่ตื่นเขาก็บอกว่านอนกินบ้านกินเมือง ไม่ทำอะไรสักอย่าง ถ้าทำมันต้องมีปัญหาอยู่แล้ว มีเยอะ มีมาก แค่นั้นแหละ ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้กลัว บางคนกลัวปัญหาไว้ก่อนแล้วปัญหาแค่นี้คิดแค่นี้ แต่มาถึงแค่นี้ เรากลัวปัญหาไปก่อนล่ะ คนเป็นยอดคนได้ต้องผ่านอุปสรรค ต้องผ่าน ปัญหาเป็นธรรมดา ดูอย่าง พระนเรศวรฯ ซิ กว่าจะเป็นพระนเรศวร ท่านต้องผ่านอุปสรรคมาเยอะแยะ โดนทุกอย่าง สมัยยังเป็นเด็กอยู่กับพระแม่ก็ต้องทนทุกข์ทรมารหลายอย่าง ชีวิตไม่ค่อยสบาย สุดท้ายก็เป็นยอดคน ก็เป็น พระเจ้าตากสิน ครูบาศรีวิชัยสมัยก่อน ชีวิตมีแต่อุปสรรคและปัญหา สุดท้ายก็เป็นครูบาศรีวิชัย คนจะเป็นยอดคน จะเป็นเจ้าคนเป็นนายคน ต้องผ่านอุปสรรค ต้องผ่านปัญหาซุปเปอร์แมนนั้น อยู่ดีๆ จะเป็นไม่ได้หรอกเหมือนกับเหล็ก จะตีเหล็กกล้าได้ต้องเผาต้องทุบ ตีแล้วตีอีก จึงจะเป็นเหล็กกล้าได้
ทำอะไรอย่าท้อถอย ท้อเทียมๆ พอแล้ว ท้อสักวันสองวัน ถ้าท้อเป็นปีนี่ท้อดอง ให้มองปัญหาเป็นเครื่องมือทดสอบ มันเหมือนวัคซีนเขาเรียกว่า อุปสรรคคือยาชูกำลัง มันเหมือนทำให้เราเก่งขึ้นทีละน้อยๆ อย่างคนไม่เคยขึ้นศาลลองไปขึ้นศาลสิ ครั้งแรกสั่น อยู่ที่ไหนก็สั่นกลัว แต่ถ้าเคยขึ้นไปแล้วสักครั้งสองครั้งก็ไม่มีปัญหาอะไร จะเห็นมันเป็นเรื่องธรรมดา แต่คนไม่เคยนี่เป็นเรื่องใหญ่มาก ตรงนี้มันเป็นเรื่องของจิตใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปกลัวก่อน
การช่วยเหลือต้องมีขอบเขต
เรื่องของการช่วยเหลือคนก็เหมือนกันต้องมีขอบเขต อย่าง พรหมวิหาร 4 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา บางทีช่วยตลอด ช่วยแล้วมันเหมือนไม่ได้อะไร ช่วยแล้วไม่ดีขึ้น ช่วยแล้วเหมือนเดิม ช่วยแล้วไม่เห็นทางจะช่วยได้แล้ว ก็ต้องวางเฉย อย่างเห็นว่าเขาตกน้ำอยากจะช่วยมาก เอาไม้ยื่นให้แล้ว เอาเชือกให้เอาอะไรให้ช่วยแล้วเขาไม่เกาะ เราก็ว่ายน้ำไม่เป็น แล้วจะกระโดดลงไปช่วยเขาไหม ถ้ากระโดดลงไปก็คงตายทั้งเราและเขานั้นแหละ จริงไหม ฉะนั้นก็ต้องมีขอบเขตในการช่วย บางคนช่วยแล้วช่วยอีกก็ยังเหมือนเดิมอย่างสอนธรรมะ พระพุทธเจ้าบอกว่า บางคนสอนครั้งเดียวก็รู้ บางคนสอน 3-4 ครั้งก็ยังรู้ บางคนสอนทั้งชาติก็ไม่รู้ไม่ยอมรับฟังไม่ยอมเข้าใจ เมื่อมันช่วยไม่ได้เราก็ต้องวางเฉย
รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
สมัยก่อนส่วนมากเวลาครูบาพูดอะไรแล้วมักจะเป็นจริง ใครมาก็สามารถทักได้ ครูบารู้ว่าคนนี้เป็นยังไงๆ มันก็แปลกมากเหมือนกัน จริงๆนะ มันเป็นความรู้สึก บางครั้งไม่ต้องถาม วัน เดือน ปี เกิด ครูบาจะรู้เองเลย รู้เลยว่าตอนนี้เขาจะเป็นยังไง เตือนให้เขาระวังเรื่องรถชนก็รถชนจริงๆ ระวันขาหักก็ขาหักจริงๆ นี่เดี๋ยวจะเจ็บป่วยหนักล้มหมอนนอนเสื่อ ก็ป่วยหนักจริงๆ แล้วมันมีความแม่นด้วย ทักนั่นทักนี่ ดูนั่นดูนี่ แต่ครูบาไม่ได้รับดูดวงนะ ส่วนมากจะมีคนมาถามกัน คือมันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมา และถ้าถามว่าทำไมโยมตองมาหาพระ เพราะพระมองทางธรรม ทางโลกกับทางธรรมมันสวนทางกัน ทางโลก ต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น ต้องได้อย่างเดียว ไม่ยอม แต่ทางธรรมนั้น ต้องไม่ได้ ต้องไม่มี ต้องไม่เป็น ต้องปล่อย ต้องวาง คือมันมองกันคนละอย่าง